พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระสมเด็จวังหน้...
พระสมเด็จวังหน้า
สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๒ เพื่อเป็นสิริมหามงคลเนื่องในการเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ร่วมกันสร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่าและพระสมเด็จวังหน้า) เป็นพิมพ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่สำคัญได้พบพิมพ์พระประธานเป็นครั้งแรก พิมพ์พระประธาน "ยิ้มรับฟ้า" ในพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์พระประธาน คือการจำลองแบบพระประธานในพระอุโบสถ มีพุทธลักษณะ ดังนี้ ปางสมาธิ พระพักตร์กลมใหญ่ พระเกศปลีเรียวยาวจรดซุ้ม มีพระเนตร พระกรรณ พระนาสิก และพระโอษฐ์ ปรากฏเด่นชัด สังฆาฏิพาดคลุมจากพระอังสาจรดพระนาภี ขัดสมาธิกว้างโค้งเล็กน้อยบนนิสีทนสันถัต ฐานสามชั้นสมส่วนสวยงาม ฝีพระหัตถ์ฝีมือแกะพิมพ์โดยพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เจ้ากรมช่างสิบหมู่ และช่างสิบหมู่แห่งพระราชวังหน้าในรัชกาลที่ ๕ แม่พิมพ์เป็นลักษณะถอดยกแบบสองชิ้นประกบกันเป็นพิมพ์ที่ได้มีการพัฒนารูปแบบใหม่มีความละเอียดในสาระ สมส่วนสง่างาม ไม่ตัดกรอบ และไม่ปาดหลัง จึงมีความงดงามมากจัดเป็นประณีตศิลป์ พบมีการแต่งขอบเล็กน้อยหลังถอดพิมพ์ ใช้ผงวิเศษของพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เนื้อมวลสารส่วนใหญ่เป็นลักษณะเนื้อมวลสารคล้ายพระสมเด็จวัดระฆัง และเนื้อมวลสารกังไส หรืออาจเรียกว่าเนื้อน้ำมัน มีความละเอียดเนื่องจากใช้เครื่องบดแทนการโขลกหรือตำ และมีการลงรัก ลงชาดสีแดง เป็นการลงสองชั้นบาง ๆ คือลงชาดหนึ่ง และลงรักหนึ่ง แต่ไม่พบการปิดทอง จึงมีความละเอียดมากกว่าพระในสกุลสมเด็จใด ๆ การพุทธาภิเษกจัดเป็นพระราชพิธีหลวงตามโบราณราชประเพณี วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษก คณะสงฆ์ประกอบด้วยหลวงพ่อทัด (สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นอีกหลายรูปร่วมพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ในคราวนั้นได้ถวายแด่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และมอบให้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชบริภารในพระบรมหาราชวังเป็นสำคัญ ที่เหลือบรรจุในสุวรรณเจดีย์ เจดีย์ย่อไม้สิบสอง ฐานชุกชีหลังครุฑวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บนเพดานพระอุโบสถ (ศึกษาร่วมกัน ประวัติศาสตร์ จดหมายเหตุ และผลทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป)
ผู้เข้าชม
585 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
ยังไม่เปิดร้านค้า
ร้านค้า
-
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
chaokoh3
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
chatsurinKumpangchaithawatพรหลวงปู่มหาศิลาchathanumaanอ้วนโนนสูง
AmuletManหนึ่งเทคนิคเทพจิระแมวดำ99นรินทร์ ทัพไทยZomlazzali
โกหมูtermboonพระเครื่องโคกมนJeerapong32chaokohNamzaza
น้ำตาลแดงponsrithong2eknarinstp253บ้านพระสมเด็จNithiporn
tumlawyerKingMidas888Kshopอมรทรัพย์พระเครื่องaonsamuiMannan4747

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1203 คน

เพิ่มข้อมูล

พระสมเด็จวังหน้า




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระสมเด็จวังหน้า
รายละเอียด
สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๒ เพื่อเป็นสิริมหามงคลเนื่องในการเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ร่วมกันสร้างพระสมเด็จ (พระสมเด็จกรมท่าและพระสมเด็จวังหน้า) เป็นพิมพ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่สำคัญได้พบพิมพ์พระประธานเป็นครั้งแรก พิมพ์พระประธาน "ยิ้มรับฟ้า" ในพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์พระประธาน คือการจำลองแบบพระประธานในพระอุโบสถ มีพุทธลักษณะ ดังนี้ ปางสมาธิ พระพักตร์กลมใหญ่ พระเกศปลีเรียวยาวจรดซุ้ม มีพระเนตร พระกรรณ พระนาสิก และพระโอษฐ์ ปรากฏเด่นชัด สังฆาฏิพาดคลุมจากพระอังสาจรดพระนาภี ขัดสมาธิกว้างโค้งเล็กน้อยบนนิสีทนสันถัต ฐานสามชั้นสมส่วนสวยงาม ฝีพระหัตถ์ฝีมือแกะพิมพ์โดยพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ เจ้ากรมช่างสิบหมู่ และช่างสิบหมู่แห่งพระราชวังหน้าในรัชกาลที่ ๕ แม่พิมพ์เป็นลักษณะถอดยกแบบสองชิ้นประกบกันเป็นพิมพ์ที่ได้มีการพัฒนารูปแบบใหม่มีความละเอียดในสาระ สมส่วนสง่างาม ไม่ตัดกรอบ และไม่ปาดหลัง จึงมีความงดงามมากจัดเป็นประณีตศิลป์ พบมีการแต่งขอบเล็กน้อยหลังถอดพิมพ์ ใช้ผงวิเศษของพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เนื้อมวลสารส่วนใหญ่เป็นลักษณะเนื้อมวลสารคล้ายพระสมเด็จวัดระฆัง และเนื้อมวลสารกังไส หรืออาจเรียกว่าเนื้อน้ำมัน มีความละเอียดเนื่องจากใช้เครื่องบดแทนการโขลกหรือตำ และมีการลงรัก ลงชาดสีแดง เป็นการลงสองชั้นบาง ๆ คือลงชาดหนึ่ง และลงรักหนึ่ง แต่ไม่พบการปิดทอง จึงมีความละเอียดมากกว่าพระในสกุลสมเด็จใด ๆ การพุทธาภิเษกจัดเป็นพระราชพิธีหลวงตามโบราณราชประเพณี วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) เพื่อสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไปในภายภาคหน้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เป็นองค์ประธานในการพุทธาภิเษก คณะสงฆ์ประกอบด้วยหลวงพ่อทัด (สมเด็จพระพุฒาจารย์) หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ หลวงปู่จาด วัดภาณุรังสี และพระเกจิอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบในยุคนั้นอีกหลายรูปร่วมพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ในคราวนั้นได้ถวายแด่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และมอบให้แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และข้าราชบริภารในพระบรมหาราชวังเป็นสำคัญ ที่เหลือบรรจุในสุวรรณเจดีย์ เจดีย์ย่อไม้สิบสอง ฐานชุกชีหลังครุฑวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้บนเพดานพระอุโบสถ (ศึกษาร่วมกัน ประวัติศาสตร์ จดหมายเหตุ และผลทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป)
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
586 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
ชื่อร้าน
ยังไม่เปิดร้านค้า
URL
-
เบอร์โทรศัพท์
0832580009
ID LINE
chaokoh3
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี